Warning: mysql_result() expects parameter 1 to be resource, boolean given in /home/maekhu/domains/maekhu.go.th/public_html/2021/util/useronline.php on line 58
เทศบาลตำบลแม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
เทศบาลตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (เบอร์โทรศัพท์ 053-387062)
 
ประวัติเทศบาล ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญเทศบาลตำบลแม่คือ
วิสัยทัศน์เทศบาลตำบลแม่คือ
อำนาจและหน้าที่
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างสภาเทศบาล
รายชื่อคณะผู้บริหารเทศบาล
รายชื่อสมาชิกสภาเทศบาล
หัวหน้าส่วนราชการ
รายชื่อบุคลากรเทศบาล
ปลัดเทศบาล
สำนักปลัดเทศบาล
งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลแม่คือ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่คือ
แผนยุทธศาสตร์/แผนการดำเนินงานประจำปี
เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แผนดำเนินงานประจำปี
รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงานประจำปีรอบ 6 เดือน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
คู่มือการปฎิบัติงาน
คู่มือมาตรฐานการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
รายงานผลความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและบริการ
E-Service (ระบบบริการแบบออนไลน์)
คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร
คำร้องขอเก็บขยะอันตราย
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
รายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีรอบ 6 เดือน
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
อัตรากำลังของเทศบาล
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
การดำเนินการตามนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
แผนอัตรากำลัง 3 ปี
การส่งเสริมความโปร่งใสฯ
เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
บุคคลสำคัญในตำบลแม่คือ
ข้อมูลสถิติรายได้ของ เทศบาล
กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลแม่คือ
Facebook
รายงานผลการดำเนินงานตามแผน
แผนปฏิบัติการงานสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เทศบาลตำบลแม่คือ
คลินิกกฎหมายบริการประชาชน เทศบาลตำบลแม่คือ
แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต
รายงานป้องกันทุจริตประจำปี รอบ6เดือน
รายงานการป้องกันการทุจริตประจำปี
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตฯ
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียน
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใ
การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
แบบประเมินความพึงพอใจของเทศบาลตำบลแม่คือ
ITA
รายงานการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น
การปรับปรุงทบทวนภารกิจ
 
 
คุยกับนายกเทศมนตรีตำบลแม่คือ
 
 
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
แผนที่เทศบาลตำบลแม่คือ
 
 
สถิิติการเข้าชมเว็บไซต์
ขณะนี้ 19 คน
สถิติวันนี้
Warning: mysql_result() expects parameter 1 to be resource, boolean given in /home/maekhu/domains/maekhu.go.th/public_html/2021/util/template_up.php on line 577
คน
สถิติเดือนนี้
Warning: mysql_result() expects parameter 1 to be resource, boolean given in /home/maekhu/domains/maekhu.go.th/public_html/2021/util/template_up.php on line 589
คน
สถิติปีนี้
Warning: mysql_result() expects parameter 1 to be resource, boolean given in /home/maekhu/domains/maekhu.go.th/public_html/2021/util/template_up.php on line 600
คน
สถิติทั้งหมด
Warning: mysql_result() expects parameter 1 to be resource, boolean given in /home/maekhu/domains/maekhu.go.th/public_html/2021/util/template_up.php on line 610
คน
ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2549
คุยกับนายกฯ
 
 
  หัวข้อสนทนา : กระบวนการพัฒนาชุมชน
ผู้ตั้งหัวข้อ : WWwawa
โทรศัพท์ : 053222222
อีเมล์ : wwwawa@Thaimail.com
วัน-เวลา : 26/10/54 - 21:02:23 น.
ข้อความ : กระบวนการพัฒนาชุมชน

กระบวนการพัฒนาสังคม
กระบวนการในการพัฒนา หมายถึง การดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอน จากจุดเริ่มต้นซึ่งเป็นภาวะหรือสภาพชุมชนที่ไม่พึงปรารถนา ดังนั้น จึงต้องการเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงจุดสุดท้ายของการพัฒนาอันเป็นเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นสภาพที่สังคมปรารถนา ไม่ว่าสถาบันนั้นจะกำหนดกันไว้ว่าอย่างไร กิจกรรมหรือขั้นตอนจึงมีจำนวนมากด้วยกัน นับแต่เริ่มจนจบกระบวนการ
เกี่ยวกับรูปแบบของกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น ได้มีนักคิดเสนอไว้หลายแบบด้วยกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง (Structural Change) ซึ่งได้แก่ การพยายามเปลี่ยนแปลงปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่างๆ ในโครงสร้างของสังคม คือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพ ตัวอย่างเช่น สถานภาพและบทบาทของพ่อแม่ ของลูก ของภรรยา ของผู้มีอำนาจ ของพลเมือง หรือของลูกจ้าง เป็นต้น รวมทั้งการพยายามสร้างงาน สร้างกลุ่ม หรือองค์การทางสังคม เป็นต้น ให้มากขึ้น ซึ่งผลตามมาอย่างหนึ่ง คือ การมีความชำนาญเฉพาะอย่างขึ้น (Specialization)
นอกจากนั้นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอาจออกมาในรูปของการเจริญเติบโต (Growth) การปรับตัวของหน่วยงานต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม (Adaptation) การประสานร่วมมือกัน การแข่งขัน และการขัดแย้งกันระหว่างงานต่างๆ เป็นต้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดความเจริญขึ้นในสังคมตะวันตก เช่น กระบวนการสร้างและใช้เครื่องมือจักรกลแทนแรงงานคนและสัตว์ (Mechanization) กระบวนการกลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) กระบวนการทำให้เป็นธุรกิจการค้า (Commercialization) กระบวนการกลายเป็นเมือง (Urbanization) กระบวนการกลายเป็นองค์การสังคมแบบราชการ (Bureaucratization) เป็นต้น
นักคิดหรือนักทฤษฎีที่เสนอขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาขึ้น คือ Kurt Lewin ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวเยอรมันแต่ไปหากินและมีชื่อเสียงโด่งดังในสหรัฐอเมริกา แต่วิธีการของเขาใช้กับการเปลี่ยนแปลงทางจิต คือ ทัศนคติ ค่านิยม ซึ่งย่อมจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ด้วย เขาเปรียบเทียบสถานการณ์เช่นนี้กับก้อนน้ำแข็ง และขั้นตอน 3 ขั้น ก็ใช้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับน้ำแข็ง ซึ่งคำบรรยายโดยย่อ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2540, หน้า 21-22) ดังนี้
1. ขั้นละลายก้อนน้ำแข็ง (Unfreezing) คือ ขั้นสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหลักที่จะต้องทำในขั้นนี้ คือ
ก. การผ่อนคลายสถานการณ์ที่จะยืนยันความเชื่อของเขา หรือสร้างสถานการณ์ขึ้นมา เพื่อให้เกิดการขัดแย้งกับความเชื่อของเขา ตัวอย่างอันแรก เช่น วัตถุประสงค์ของนิสิตที่เข้าชั้นเรียนคือมาดูสาว แต่อาจารย์เกิดชี้ตัวและถามปัญหาเขา ทำให้ความคิดเดิมของเขาเปลี่ยนไป ตัวอย่างกรณีหลัง เช่น แยกคนพวกเดียวกันออกไป อย่างที่พวกนักโทษสงครามถูกแยกตัวจากพรรคพวก
ข. การสร้างความรู้สึกสำนึกผิด (Guilt-Anxiety) ซึ่งเป็นกระบวนการปฏิบัติตอบสถานการณ์สองประเภทในข้อ ก. ไม่ใช่ด้วยการปฏิเสธข่าวสารหรือแหล่งที่มาของสถานการณ์นั้น แต่ด้วยความรู้สึกไม่เพียงพอ หรือความล้มเหลวในตัวเขา เช่น เสียใจที่ตัวเองไม่สามารถปฏิบัติตัวให้ได้มาตรฐานอันใดอันหนึ่ง หรือเสียใจที่ทำให้ผู้มีเกียรติผิดหวังในตนเพราะตนไม่ได้ให้เกียรติยกย่องเขาตามที่ควร
ค. การสร้างความปลอดภัยทางจิตวิทยาด้วยการกำจัดเครื่องขัดขวางหรือภัยต่างๆ ในการที่จะเปลี่ยนแปลง นั้นก็หมายความว่า คนที่พอจะมีมูลเหตุจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว แต่เกิดการขัดแย้งกับความคิดหรือการกระทำเก่าๆ ทางแก้ก็คือ กำจัดเครื่องขีดขวางนั้นเสีย เรื่องนี้พัฒนากรจะช่วยได้ด้วยการให้กำลังใจเขา หรือช่วยให้เขาสามารถทนต่อความรู้สึกนั้นได้ หรือบอกกับเขาว่า ฟ้าใหม่สดใสมากกว่าที่เขาคิดเสียอีก
2. ขั้นการเปลี่ยนแปลง (Changing) หรือขั้นสร้างแนวทางใหม่ กิจกรรมที่จะต้องทำในช่วงนี้คือ การเสนอความรู้ ความคิด แนวทางให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักพัฒนาต้องการให้คนที่ตนจะพัฒนามีเข้ามาในชุมชนนั้นให้มากซ้ำแล้วซ้ำอีก ระลอกแล้วระลอกเล่า ให้เขาได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจ คัดเลือกและรับเอาไว้เป็นของเขา
3. ขั้นทำให้น้ำกลับเป็นก้อนน้ำแข็ง (Refreezing) หรือขั้นสร้างความมั่นคงและผสมผสานสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแล้วเข้าด้วยกัน กิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติในชั้นนี้ ได้แก่ การผสมผสานของใหม่ต่างๆ คือ ความคิด ค่านิยม ทัศนคติ เข้ามาเป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่พัฒนากรต้องการพัฒนา และการผสมผสานสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่ๆ ต่างๆ เข้าสู่สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เพื่อบุคคลจะได้หัดใช้ของใหม่นั้นในสถานการณ์ที่สนับสนุน เช่น การเรียน และฝึกหัดใช้ภาษาในประเทศเจ้าของภาษา เป็นต้น การทำเช่นนี้ จะทำให้สิ่งที่เรียนมาใหม่ฝังแน่นลงในกมลสันดานแล้วก็จะยากในการเปลี่ยนแปลงอีก
ขั้นตอนเหล่านี้ เจ้าของทฤษฎีออกแบบใช้ในระดับบุคคลไม่ใช่ชุมชน เรานำมาเสนอไว้เพื่อเป็นแนวคิดสำหรับการพัฒนาชนบท ซึ่งมีกิจกรรมพัฒนาไม่เฉพาะระดับบุคคลเท่านั้น แต่ระดับ ชุมชนหรือสังคมด้วย แต่ก็เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่กิจกรรมพัฒนาระดับหลังบ้างตามควรระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา ซึ่งสัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2540, หน้า 33-35) ได้เสนอตัวแบบในการพัฒนาชุมชนไว้ดังนี้
1. ได้ตัวแบบ TERMS หมายความว่า การวิจัยนี้พบว่า การที่ชุมชนชนบทจะพึ่งตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีตัวแปรสำคัญ 5 ตัว คือ
T = Technology หมายถึง เครื่องไม้เครื่องประกอบอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ช่วงแรกเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม (appropriate technology) ในช่วงของการก่อร่างสร้างตัวของชุมชน ที่เรียกว่า “ทำมาหากิน” ต่อเมื่อผ่านช่วงนั้นไปแล้ว เครื่องมือก็อาจก้าวหน้าขึ้นและใหญ่ขึ้น ในช่วง “ทำมาค้าขาย”
E = Economic หมายถึง ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นทั้งตัวเหตุและตัวผล หมายถึงว่า การที่จะทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ต้องอาศัยปัจจัยเศรษฐกิจ เช่น ทุน แรงงาน ที่ดิน และการจัดการ (management) การเป็นตัวผล หมายถึง ภาวะที่พอมีพอกิน ไม่อัตคัดขัดสน
R = Resource หมายถึง ปัจจัยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ที่ดิน ป่าไม้ ที่จะทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ถ้าชุมชนมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ก็นำมาใช้ประโยชน์ ถ้าชุมชนไม่มีก็ต้องแสวงหามา หรือก่อให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น สร้างสระขังน้ำไว้กิน ใช้
M = Man หรือ mental หมายถึง การมีคนที่มีใจแกร็งกล้า ไม่กลัวปัญหาอุปสรรค ขยันขันแข็งประกอบการงาน จนบรรลุเป้าหมาย
S = Socio-cultural หมายถึง กลุ่มคนและระเบียบสังคม หรือตัววัฒนธรรม การที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ ชุมชนต้องมีผู้น้ำที่เข้มแข็ง ผู้นำระยะแรกจะต้องเป็นผู้ที่มีความเด็ดขาด เด็ดเดี่ยวก่อนไปทางเผด็จการ เป็นที่ยำเกรงและเป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน กลุ่มคนจะต้องมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป แต่มีความสมัครสมานสามัคคีกัน มีวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการพึ่งตนเอง ขยัน ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย นี่นับเป็นตัวแบบหลักของโครงการวิจัยนี้
2. BAN คือ องค์ความรู้ประการที่สองที่เกิดจากการวิจัยนี้ คือ BAN ซึ่งเป็นอักษรย่อของ B = Balance A = Ability N = Networking นั่นหมายความว่า ในการที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ ชุมชนจะต้องรักษาความสมดุลตลอดระยะเวลาการพัฒนา ตั้งแต่เริ่มแรกเรื่อยไปจนสามารถพึ่งตนเองได้ Ability หรือความสามารถ คือ ตัว TERMS และการจัดการ ที่เป็นปัจจัยหลักที่ชุมชน จะต้องสร้างขึ้น และเพื่อให้การพึ่งตนเองได้มีความมั่นคงถาวร ชุมชนต้องสร้างเครือข่ายพันธมิตร ที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เรียนรู้จากกัน
3. PAR คือ การวิจัยและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ดังที่เพิ่งจะได้กล่าวถึงมาแล้ว
4. Multi-functional Matrix เป็นความคิดเชิงทฤษฎีแสดงให้เห็นการทำงานของปัจจัยต่างๆ ใน TERMS ในชีวิตจริง จะเห็นการทำงานของ TERMS ที่ทำงานตัวเองและเพื่อปัจจัยอื่นด้วยในขณะเดียวกัน เช่น ขณะที่ T ทำงานเพื่อ T แต่ก็ทำงานเพื่อ ERMS ด้วย กล่าวคือ T ทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ ทำให้ R อุดมสมบูรณ์ M มีความเชื่อมั่นในความสำเร็จมากขึ้น และ SC มีความมั่นคงเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
5. Double –tiered Model of Rural Community Self Reliance หัวข้อนี้กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ งานวิจัยนี้ทำให้คนพบว่า การสร้างความสามารถพึ่งตนเองให้กับชุมชนนั้น จำเป็นต้องแบ่งเป็นสองระยะๆ ต้นให้ชื่อว่า “วงใน” หมายถึง ช่วงของการก่อร่างสร้างตัว ทำตัวให้พึ่งตนเองได้ แล้วจึงถึงระยะที่สอง ขึ้นพัฒนาให้ชื่อว่าง “วงนอก” แม้ว่าแต่ละขั้นประกอบด้วยปัจจัยเหตุ คือ TERMS เหมือนกัน แต่รายละเอียดของ TERMS ในวงในและวงนอกต่างกัน เช่น T สำหรับวงในควรเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ขณะที่ T วงนอกเป็น appropriate technology E วงในเป็นระบบ การทำมาหากิน (ให้พอกิน) แต่วงนอกเป็นระบบการทำมาค้าขาย ดังนี้เป็นต้น
6. Philosophy of Double-tiered Model องค์ความรู้ประการสุดท้ายที่งานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบได้แก่ ตัวแบบปรัชญาของวงในวงนอกของการพึ่งตนเองของชุมชนชนบท ซึ่งสรุปเป็นเนื้อหาได้ดังนี้

Philosophy of Double-tiered Model
Eastern Philosophy Western
Folk wisdom
ทำมาหากิน
Coexistence
คุณธรรม (มั่นใจ, ขยันพอ)
หัวหน้าแข็ง ชุมชนเล็ก คือ เป็นญาติทั้งชุมชน T
E
R
M
S Appropriate
ทำมาค้าขาย
Exploitation
Materialism Objectivity
Subjectivity
ผู้นำประชาธิปไตย
Competitivism
Individualism
Large and complex

ก. ส่วนที่เป็นกระบวนการ
ข้อค้นพบส่วนที่สองเป็นความรู้ส่วนที่เป็นกระบวนการทางสังคม ที่สำคัญมี 3 ประการ สาระโดยสังเขป มีดังนี้
PAR รายละเอียดของเนื้อหามีดังได้กล่าวแล้วข้างต้น สาระในส่วนที่เป็นกระบวนการ คือ การมีกิจกรรม 3 อย่าง ที่ดำเนินไปพร้อมๆ กัน คือการทำการพัฒนาความสามารถพึ่งตนเองของชุมชน การวิจัยการดำเนินการนั้น โดยมีชาวบ้านและนักวิจัยและนักพัฒนาร่วมกันทำ ทำให้ตัวชาวบ้านได้เรียนรู้วิธีการและเป้าหมายของการพัฒนาไปพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านอื่นในชุมชน
BAN โดยเนื้อหาก็ได้พูดไปแล้วในส่วนที่เป็นองค์ความรู้ในส่วนที่เป็นกระบวนการทางสังคม BAN เป็นกิจกรรมที่ต้องทำสามอย่าง คือ การรักษาสมดุล (B) การเสริมสร้างความสามารถด้านต่างๆ (A) และการสร้างเครือข่าย (Network) ที่งานพัฒนาความสามารถพึ่งตนเองได้จะต้องทำ ทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชน การมีเครือข่ายไม่ได้เพียงแต่ช่วยสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองได้เท่านั้น ยังสามารถช่วยทำให้ความสามารถที่สร้างขึ้นมาแล้วดำรงอยู่ยืนยงต่อไปด้วย
Socialization การขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นสังกัปทางสังคมวิทยาที่ผู้ศึกษาหนังสือเล่มนี้จะได้ศึกษารู้ความหมายและองค์ประกอบมาแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวซ้ำความหมายในแง่กระบวนการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชน คือ ชุมชนที่พึ่งตนเองไม่ได้อยู่ในขณะนี้เคยมีความสามารถพึ่งตนเองได้มาแล้ว แต่ได้เสียความสามารถนั้นไป เมื่อการวิจัยนี้ค้นพบวิธีทำให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ใหม่ จึงจำเป็นต้องทำให้ชุมชนเรียนรู้วิธีการพึ่งตนเองใหม่ ในทางวิชาการจึงเรียกว่า resocialization เพื่อให้ชุมชนกลับมาพึ่งตนเองได้ใหม่
ยุทธวิธีการพัฒนาสังคมที่เน้นเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่าการกระจายรายได้ การรวมศูนย์อำนาจไว้ยังส่วนกลาง การนำแนวคิดการพัฒนาจากภายนอกมาใช้ และการเน้นพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม เป็นยุทธวิธีพัฒนาสังคมที่ผิดพลาดก่อให้เกิดปัญหาทั้งระดับบุคคลและปัญหาสังคม ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาสังคมขึ้นจึงเกิดแนวคิดเรื่องกระบวนการพัฒนา อันเป็นยุทธวิธีการพัฒนาสังคมที่เหมาะสม และส่งผลถึงการพัฒนาด้านสังคมจิตใจ วัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป ซึ่งกระบวนการพัฒนาสังคมเริ่มต้นจากการพัฒนาคน การพัฒนาศักยภาพของประชาชนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน (อ้างใน http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/soc2/so31-2_3.htm) คือ
1. การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรับรู้ปัญหา
2. การหาทางเลือกในการแก้ปัญหา
3. การเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
4. การปฏิบัติกิจกรรมตามทางเลือก
5. การทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงาน
6. การประเมินผล
ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. การส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรับรู้ปัญหาเป็นขั้นแรกในการที่จะแก้ปัญหา ซึ่งมีขั้นตอนวิเคราะห์ปัญหาคือ
1.1 ชี้ระบุปัญหา
1.2 จัดหมวดหมู่ปัญหา
1.3 จัดลำดับความสำคัญปัญหา
2. การหาทางเลือกในการแก้ปัญหาหลังจากที่ระบุปัญหา และเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาแล้ว ก็จะทำให้ทราบว่าปัญหาใดบ้างของหมู่บ้านที่จะถูกนำมาแก้ไขซึ่งในการแก้ปัญหาจะต้องแก้ที่สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
3. การเลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา โดยเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับทรัพยากรและศักยภาพที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความคุ้มค่า มีความพร้อมและมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ โดยยึด “การคิดเป็น” กล่าวคือ การรวบรวมข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเป็นข้อมูล 3 ด้าน คือข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และข้อมูลเกี่ยวกับหลักวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบทางเลือก เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่เหมาะสม มีความพอดีระหว่างตนเองกับสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่
4. การปฏิบัติกิจกรรมตามทางเลือกเมื่อประชาชนเลือกทางเลือกที่จะดำเนินการแก้ปัญหาแล้ว อันดับต่อไปต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ และสามารถดำเนินการในเรื่องของการจัดทำแผนปฏิบัติการ ดำเนินการตามแผนและการบันทึก
5. การทบทวน และปรับปรุงการดำเนินงาน เป็นภารกิจที่ต้องกระทำควบคู่ไปกับการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ เนื่องจากระหว่างการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม อาจจะมีอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหา ทำให้การปฏิบัติกิจกรรมได้ผลไม่เต็มที่ จึงต้องมีการปรับแผน และวิธีดำเนินงานเสียใหม่เพื่อจะได้บรรลุผลที่ต้องการ ต่อไป
6. การประเมินผล เป็นการประเมินผลกระบวนการที่ปฏิบัตินั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยการเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผน โดยกระบวนการพัฒนาสังคมนั้นประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ซึ่งจะทำให้แก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของสภาพที่เป็นจริงของชุมชนและสังคมนั้น

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
SWOT เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร การนำเอา SWOT มาใช้ในการพัฒนาชุมชน จะทำให้เข้าใจภาพรวมของชุมชนมากยิ่งขึ้น มีนักพัฒนาชุมชนหลายท่านที่ได้นำเอาเทคนิคการวิเคราะห์ชุมชนนี้ใช้ซึ่งมีรายละเอียด (อ้างใน http://th.wikipedia.org/wiki/SWOT_Analysis) ดังนี้
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่น จุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อย จุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก
จุดแข็ง (Strengths) เป็นความแข็งแกร่ง (ข้อดี) ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม (4Ps) จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
โอกาส (Opportunities) เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
อุปสรรค (Threats) เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การนำเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT มาใช้เพื่อต้องการให้นักพัฒนาได้มองหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคในการทำงาน ซึ่งเทคนิคนี้ทำให้ไม่เกิดความเลินเล่อ เพราะทำให้นักพัฒนาตระหนักรอบด้าน ด้วยการศึกษาทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในชุมชน เรียกได้ว่าเป็นการมองโดยภาพรวม มองแบบบูรณาการ

กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา
กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนา (New Development Paradigm) หมายถึง “กระบวนความคิดและการปฏิบัติที่ทุกฝ่ายเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันโดยการทำงานด้วยกัน ใช้ความพยายามร่วมกันและไม่มาเป็นปกปักษ์ต่อกัน”
วิธีการส่งเสริมให้คนมีความรักกันและมีความรู้ร่วมกัน มีการค้นคว้าวิจัยจนได้เครื่องมือที่เรียกว่า (AIC) ซึ่งเป็นวิธีการและเทคนิคในการเอาคนที่จะทำงานร่วมกันทั้งหมดในระบบเข้ามาประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ซึ่งจะดำเนินการใน 3 ขั้น (อนัตต์ ลัคนหทัย. ม.ป.ป. หน้า 8-11) คือ
ขั้นที่ 1 คือ A: Appreciation
ขั้นที่ 2 คือ I: Influence
ขั้นที่ 3 คือ C: Control

ขั้นที่ 1 คือ A: Appreciation คือ
“การทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับและชื่นชมคนอื่นโดยไม่รู้สึกหรือแสดงการต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์”
ในกระบวนการขั้นนี้ ทุกคนจะมีโอกาสแสดงออกอย่างทัดเทียมกันด้วยภาพ ข้อเขียน และคำพูด ว่าเขาเห็นสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร และเขาอยากจะเห็นความสำเร็จในอนาคตเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ทุกคนมีโอกาสใช้ข้อเท็จจริง เหตุผล และความรู้สึก ตลอดจนการแสดงออกในลักษณะต่าง ๆ ตามข้อเท็จจริง เมื่อทุกคนได้แสดงออกโดยได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ จะทำให้คนมีความรู้สึกที่ดี มีความสุข มีความอบอุ่น และเกิด “พลังร่วม” ขึ้นในระหว่างคนที่มาประชุมด้วยกัน
ในช่วงของการแสดงออกว่าแต่ละคนอยากจะเห็นความสำเร็จในอนาคตเป็นอย่างไร เป็นการใช้จินตนาการที่ไม่ถูกจำกัดด้วยปัจจัยและสถานการณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การมองการณ์ไกล การมองภาพกว้างและการคิดสิ่งแปลกใหม่ได้ดีกว่าการคิดจากสภาพปัญหาหรือข้อขัดข้องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นั่นคือ การใช้ “จิตนาการ” (Imagination) ซึ่งจะมีพลังมากขึ้นกลายเป็น “วิสัยทัศน์ร่วม” (Shared Vision) หรือ “อุดมการณ์ร่วม” (Shared Ideal) ซึ่งได้แก่ “สิ่งที่มุ่งมาดปรารถนาร่วมกันหรือเป้าหมาย” นั่นเอง



ขั้นที่ 2 คือ I: Influence คือ การใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แต่ละคนมีอยู่มาช่วยกันกำหนดวิธีการสำคัญหรือยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของกลุ่มได้อย่างดีที่สุด ในขั้นนี้ ทุกคนมีโอกาสทัดเทียมกันที่จะให้ข้อคิดเห็นว่า วิธีการสำคัญที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
เมื่อทุกคนแสดงความคิดเห็นแล้ว จะนำ “วิธีการ” ที่เสนอแนะทั้งหมดมาจัดหมวดหมู่ แยกแยะ และพิจารณาร่วมกัน จนกระทั่งได้ “วิธีการสำคัญ” ที่กลุ่มเห็นพ้องต้องกันว่า จะนำไปสู่ความสำเร็จตามที่กลุ่มต้องการ ซึ่งในการพิจารณาเลือกวิธีการสำคัญนั้น สมาชิกกลุ่มจะมี “ปฏิสัมพันธ์” (Influence หรือ Interaction) ซึ่งกันและกันสูง รวมถึงการถกเถียงโต้แย้งกันด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้วิธีการที่กลุ่มเห็นร่วมกันว่าดีที่สุด เนื่องจากเป็นการถกเถียงโต้แย้งในระดับวิธีการดังกล่าว มี “เป้าหมาย” หรือ “อุดมการณ์” ร่วมกัน ฉะนั้น กลุ่มยังมีแนวโน้มที่จะรักษาความสามัคคีไว้ได้โดยไม่ยากนัก



ขั้นที่ 3 คือ C: Control คือ การนำ “วิธีการสำคัญ” มากำหนดเป็น “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) อย่างละเอียดว่า ทำอะไร มีหลักการและเหตุผลอย่างไร มีกำหนดเวลาอย่างไร ใครรับผิดชอบเป็นหลัก ใครต้องให้ความร่วมมือ จะต้องใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายเท่าไร จากแหล่งใด จะมีรายได้จากการดำเนินงานดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีประมาณเท่าไร และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่เห็นว่าควรระบุไว้
ในขั้นนี้ สมาชิกกลุ่มแต่ละคนจะเลือกเองว่า สมัครใจจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องใด จะเป็นผู้ให้ความร่วมมือในเรื่องใด จะเป็นผู้ร่วมคิดแผนปฏิบัติการข้อใด เป็นการกำหนด “ข้อผูกพัน” (Commitment) ให้ตนเองเพื่อ “ควบคุม” (Control) ให้เกิดการกระทำอันจะนำไปสู่การบรรลุผลที่เป็นเป้าหมายหรืออุดมการณ์ร่วมกันของกลุ่มในที่สุด
นอกจากการเข้ารับผิดชอบหรือไม่ความร่วมมือตาม “แผนปฏิบัติการ” ที่กลุ่มร่วมกันกำหนดขึ้นแล้ว สมาชิกกลุ่มในแต่ละคนยังอาจกำหนด “ข้อผูกพันเฉพาะตัว” (Personal Commitment) ได้อีกด้วย เพื่อเป็นการใช้พลังในส่วนของตัวเองแต่ละคนให้เกิดผลในทางสร้างสรรค์มากที่สุด




กระบวนการ AIC จะสร้างพลังสร้างสรรค์ขึ้น เมื่อฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกันด้วยความรักความเมตตา ตัว A (Appreciation) คือ ธรรมะอย่างสูง ได้แก่ ความรักและความเมตตาคนอื่น ต้องรับฟัง อดทน และยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ซึ่งตรงกับหลักของพระพุทธศาสนา ฉะนั้น “A” ทำให้เกิดพลังความดีเข้ามา อาจเรียกว่าเป็น “การพัฒนาทางจิตวิญญาณ” (Spiritual Development) พอคนที่เข้ามาร่วมกิจกรรมมีความรักความเมตตาต่อกัน ก็จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จากการทำงานด้วยกัน ที่เรียกว่า “Interactive learning through action” จึงให้การพัฒนาประสบความสำเร็จ เพราะทำให้เกิด “การเรียนรู้” ที่แท้จริง ซึ่งมีพลังมาก ปกติแล้วคนมักจะเรียนรู้กันยาก
เพราะฉะนั้น “การพัฒนา” ต้องการ “การเรียนรู้” อย่างมากของทุกฝ่าย นั่นคือ ต้องมี “I” (Influence) ได้แก่ การเรียนรู้ร่วมกันให้เกิดพลัง และต้องมี “C” (Control) ซึ่งได้แก่ “การจัดการ” (Management) และ “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) ที่กำหนดว่าใคร จะทำอะไร อย่างไร เมื่อใด มีค่าใช้จ่ายเท่าไร จะได้เงินจากไหน ถ้าไม่พอจะทำอย่างไร เป็นต้น
 
 
แสดงความคิดเห็น / ตอบ
 
ชื่อ *
โทรศัพท์ :  
อีเมล์ :  
ข้อความ * :  
รหัสตรวจสอบ * :    กรุณากรอกรหัสในภาพให้ครบถ้วน
 
     
  กรุณาเติมรายละเอียดในช่องที่มีสัญลักษณ์ " * "
   
 
กลับไปดูรายการทั้งหมด
 
 

 

 


 
 
ข่าวสารและกิจกรรม
Copyright 2006-2025 โดย เทศบาลตําบลแม่คือ - http://www.maekhu.go.th
ที่ทำการเทศบาลตำบลแม่คือ 149 ม.2 ต.แม่คือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
เว็บไซต์ออกแบบและพัฒนาโดย www.click2solutions.com